สมัยอียิปต์โบราณ ก๊าซธรรมชาติอยู่ในฐานะสัญญาณจากเทพเจ้า โดยปรากฏในรูปแบบของ “ไฟลึกลับ” ที่พวยพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกของพื้นโลก 6000-2000 ปีก่อนคริสตกาล : มีการบันทึกว่าค้นพบก๊าซธรรมชาติในประเทศอิหร่าน 900 ปีก่อนคริสตกาล : มีบันทึกว่ามีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในจีน
ปี ค.ศ. 1659 (พ.ศ.2202) : มีบันทึกว่ามีการค้นพบในประเทศอังกฤษปี ค.ศ. 1815 (พ.ศ.2358) : มีบันทึกว่ามีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) : รถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงถูกพัฒนาขึ้นโดย Jean Etienne Lenoir ชาวฝรั่งเศส แต่ช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยม
ปี ค.ศ.1911 (พ.ศ.2454) : Dr. Walter Snelling นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ผลิตตัวอย่าง ก๊าซโพรเพน และ ก๊าซบิวเทน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ LPG ได้เป็นคนแรก
ปี ค.ศ. 1913 (พ.ศ.2456) : Dr. Walter Snelling ได้รับสิทธิบัตรกระบวนการจัดเก็บและขนส่งก๊าซโพรเพนและบิวเทน
ปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ.2482) : สภานิติบัญญัติแห่งรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อบังคับ แห่งแก๊สปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG นับเป็นกฎหมายรองรับการผลิตและการใช้แก๊สแอลพีจีในระดับรัฐเป็นครั้งแรก
ปี ค.ศ.1940 (พ.ศ. 2483) : การขยายตัวของการใช้ก๊าซธรรมชาติในสหรัฐเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ประชาชนใน พื้นที่การเกษตรเปลี่ยนจากการใช้ไม้และน้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงภายในบ้านมาเป็นการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) : เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันทั่วโลก จึงหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) : ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตก๊าซจากแหล่งก๊าซอ่าวไทย โดยการปิโตรเลี่ยมแห่ง ประเทศไทย โดยนำแก๊ส LPG มาใช้ในการหุงต้ม และมีการสนับสนุนให้ดัดแปลงรถยนต์สาธารณะ เช่น รถแท๊กซี่ สามล้อเครื่อง หรือ ตุ๊กตุ๊ก ให้มาใช้แก๊ส LPG แทนน้ำมัน
ปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) : รัสเซีย อิหร่าน และประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ 15 ประเทศ ร่วมก่อตั้งกลุ่ม ประเทศผู้ส่งออกก๊าซ (Gas Exporting Countries Forum) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2008 เชื่อกันว่าจะมีบทบาท เฉกเช่นกลุ่มโอเปคของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และน่าจะเป็นประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของก๊าซธรรมชาติ
ประวัติศาสตร์ “ก๊าซธรรมชาติ”
“ก๊าซธรรมชาติ” ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณแล้ว บันทึกแรกเท่าที่ค้นพบเกิดขึ้นในสมัยอียิปต์โบราณ โดยยุคนั้นยังเป็นสิ่งที่อยู่ในฐานะ “สัญญาณจากเทพเจ้า” เนื่องจากมันปรากฏในรูปแบบของ “ไฟลึกลับ” ที่ปรากฏขึ้นจากรอยแยกของพื้นโลก
ก๊าซธรรมชาติยังถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ของประเทศอิหร่านว่ามีการค้นพบในช่วง 6000 – 2000 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบในประเทศจีนช่วง 900 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบในอังกฤษเมื่อปี 1656 (พ.ศ. 2202) และถูกค้นพบในอเมริกาเมื่อปี 1815 (พ.ศ. 2358)
ยุคแรก ๆ ที่มีการนำก๊าซ LPG มาใช้ยังไม่มีการควบคุม จนกระทั่ง Dr. Walter Snelling นักวิทยาศาสตร์ และนักลงทุนชาวอเมริกัน ได้ผลิตตัวอย่าง โพรเพน และ บิวเทน ขึ้นในปี 1911 (พ.ศ.2454) สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า การค้นพบก็คือโพรเพน และ บิวเทน ในก๊าซธรรมชาติไม่มีความเสถียรและสามารถระเหยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ ได้ตลอดเวลา Dr. Snelling จึงได้พัฒนากระบวนการจัดเก็บและขนส่งโพรเพนและบิวเทน และในปี 1913 (พ.ศ.2456) เขาก็ได้สิทธิบัตรด้านก๊าซ LPG
ในปี พ.ศ.2482 สภานิติบัญญัติแห่งรัฐของอเมริกา ได้ตราพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อบังคับแห่ง แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas หรือ LPG) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ บิวเทน หรือ โพรเพน ด้วนสาเหตุที่ว่า สภาการรถไฟซึ่งเป็นตัวแทนเสียงข้างมากของรัฐ ซึ่งรับผิดชอบต่อการผลิตและการใช้แก๊สในระดับรัฐต้องการได้ อำนาจการตัดสินใจด้วยตัวบทกฎหมาย
การขยายตัวของการใช้ก๊าซธรรมชาติในสหรัฐเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 40 (1940s) ประชาชนในพื้นที่การเกษตร ของเท็กซัส เปลี่ยนจากการใช้ไม้และน้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงภายในบ้านมาเป็นการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็น เชื้อเพลิงในการทำอาหาร และสร้างความอบอุ่นภายในบ้าน โดยทำการส่งมาทางท่อส่งก๊าซ สามารถสร้างประโยชน์ ให้กับการดำเนินชีวิตของชุมชนเมืองได้เป็นอย่างมาก ส่วนในพื้นที่ห่างไกล LPG จะถูกบรรจุใส่ถังก๊าซ พื่อความสะดวก ในการขนส่ง
อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ.2489) ปัญหาความปลอดภัยจากแรงดันที่สูงเป็นสาเหตุให้อัตราการขอ เอาประกันภัยพุ่งสูงแบบติดจรวด อุตสาหกรรม LPG จึงหาวิธีการทางกฎหมายเพื่อปกป้องสาธารณะชน และเพื่อช่วยลด อัตราการประกันภัย ในปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494) สภานิติบัญญัติของรัฐเท็กซัส ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการมี ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และผ่านกฎหมายว่าด้วยการตั้งสำนักงานก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas Division) ให้แยกออกจากสภาการรถไฟ
ปี ค.ศ. 1958-1959 (พ.ศ.2501-2502) บริษัท แทร็กเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดได้เผยแพร่การใช้ก๊าซ LPG กับเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้ในฟาร์ม ทำให้อัตราการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวพุ่งสูงขึ้น
ในปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ.2526) อำนาจในการดูแลจัดการก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas หรือ CNG) ถูกรวมเข้ามาในสำนักงานนี้ การตราพระราชบัญญัติ “อากาศบริสุทธิ์” หรือ The "clean air" legislation ถูกผ่านออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยสภานิติบัญญัติชุดที่ 71 ของรัฐเท็กซัส ได้ขอให้ยานพาหนะที่มีสมรรถนะ เพียงพอ หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) หรือ LPG อยู่ในขอบเขตทางกฎหมายของสำนักงานก๊าซธรรมชาติเหลว
ใบอนุญาตที่มอบให้กับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) และคณะกรรมการกำหนดข้อ กฎหมาย CNG ที่ครอบคลุมถึงการติดตั้ง การจัดเก็บ และการจัดหาเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง CNG ทั้งในยานพาหานะ ส่วนบุคคลและในยานพาหนะสาธารณะ
ในออสเตรเลียมีการค้นพบก๊าซ LPG ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1920s ซึ่งนั่นเป็นช่วงที่ออสเตรเลียนำเข้า ก๊าซธรรมชาติบรรจุถังมาจากอเมริกา ในตอนนั้นก็ยังไม่มีคนสนใจจนกระทั่งมันมีค่าแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ขึ้นมา จากนั้นก๊าซธรรมชาติจึงถูกควบคุมในฐานะที่สามารถใช้หุงต้มอาหารและสร้างความอบอุ่น
ก่อนปี 1970 (พ.ศ.2513) ก๊าซ LPG จำนวนไม่มากนักหาได้ในออสเตรเลีย ช่วงทศวรรษที่ 1970s บริษัท Esso และ BHP ได้เปิด Bass Strait Oil และ Gas Fields ทำให้โพรเพนและบิวเทนของออสเตรเลียมีใช้อย่างเหลือเฟือ ในขณะที่มันถูกมองว่าเป็น “ขยะ” ที่เกิดจากการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ความต้องการในออสเตรเลียจึงต่ำ ส่วนเกินถูกส่งมาจำหน่ายในเอเชีย ช่วงนี้เองวิกฤติปิโตรเลียมทำให้เกิดการพัฒนาพลังงานทางเลือกราคาประหยัด เพื่อใช้ในรถยนต์ขึ้นมา
จุดกำเนิดรถใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (NGV)
ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (NATURAL GAS VEHICLE : NGV)ได้มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean Etienne Lenoir แต่ช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่งถึง สงครามโลกครั้งที่ 2 และเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันใน ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลให้มีการคิดค้น นำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนนในรถยนต์มากขึ้น รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ล้วนส่งเสริมและสนับสนุน ให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยประเทศที่มีการใช้อยู่แล้วก็มีแนวโน้มการขยายตัวของการใช้มากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลี เป็นต้น ส่วนประเทศที่ยังไม่เริ่มใช้ รัฐบาลก็ให้การส่งเสริม รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย
อิตาลีเป็นประเทศแรก ๆ ที่นำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ มากว่า 80 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันใน อิตาลีมีรถยนต์ใช้ก๊าซกว่า 300,000 คัน และต่อมาความนิยมใช้ก๊าซ NGV ก็มีแพร่หลายมากขึ้นทั้งในทวีปอเมริกาใต้ เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า จำนวนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ มีทั้งหมด 1,400,000 คัน ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 1 ในโลก ในทวีปอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกามียานยนต์ให้ก๊าซกว่า 130,000 คัน ในทวีปเอเชีย มีในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และปากีสถาน รวมถึงทวีปอาฟริกา เช่น อียิปต์ ในปัจจุบันทั่วโลกมีรถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติกว่า 4.7 ล้านคัน
ประเทศไทยกับการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์
ปี พ.ศ. 2514 มีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย หลังจากมีพระราชบัญญัติปิโตรเลียม โดยวิธีการให้ประมูลสัมปทาน ซึ่งรัฐบาลพิจารณาให้สัมปทาน 9 ราย จากผู้ยื่นความจำนงกว่า 20 ราย ในพื้นที่ 19 แปลงในอ่าวไทย 2 แปลงในทะเลอันดามันน้ำตื้น และ 2 แปลงบนบกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2514 นั่นเองที่ บริษัท ยูเนี่ยนออยล์ ได้เจาะหลุมสำรวจขนาด ลึกเป็นครั้งแรก บนที่ราบสูงโคราช และบริษัท โคโนโค ได้เจาะหลุมสำรวจหลุมแรกในอ่าวไทย แต่ทั้งสองหลุม ไม่ปรากฏร่องรอยของสารไฮโดรคาร์บอน
ปี พ.ศ.2516 บริษัท ยูเนียนออยล์ ประเทศไทย จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูโนแคล ประเทศไทย จำกัด (Unocal)) เป็นบริษัทแรกที่ค้นพบแหล่งก๊าซ ธรรมชาติในอ่าวไทย (แปลงสัมปทานที่ 12 แอ่ง ปัตตานี) ณ แหล่งเอราวัณ ต่อมาได้สำรวจพบแหล่ง บรรพต และได้สำรวจพบในแหล่งอื่น ๆ ที่จะสามารถ พัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นอีก
ปัจจุบันพบแหล่งก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสต ใน พื้นที่สัมปทานของบริษัทฯ ทั้ง 4 แปลงในอ่าวไทย จำนวนถึง 15 แหล่ง ได้แก่ เอราวัณ บรรพต ปลาทอง สตูล กะพง ฟูนาน จักรวาล ปะการัง ตราด โกมินทร์ สุราษฎร์ ปลาแดง ดารา ปลาหมึก และยะลา
นอกจากการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยแล้ว ยังมีการสำรวจในอ่าวอันดามันด้วยแต่ไม่พบแหล่งที่มี ศักยภาพในเชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ยังมีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติบนบก โดยบริษัท เอกซอนแห่งประเทศไทย จำกัด พบแก๊ส ธรรมชาติที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แต่เป็น แก๊สแห้ง คือไม่มีไฮโดรคาร์บอนหนักอยู่ด้วย และบริษัท ไทยเชลล์ เอกซ์พลอเรชัน จำกัด สำรวจพบน้ำมันปิโตรเลียม ที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานชื่อว่า แหล่งสิริกิติ์ และพบก๊าซธรรมชาติร่วมด้วย เริ่มผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 โดยนำน้ำมันดิบที่ได้มากลั่นร่วมกับน้ำมันดิบที่นำเข้า พ.ศ.2518 เกิดวิกฤติการณ์น้ำมันทั่วโลก ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลในสมัยนั้น พิจารณาพัฒนาแหล่งก๊าซ ธรรมชาติในอ่าวไทย โดยผู้รับสัมปทาน คือ บริษัท ยูเนียนออยล์ ในช่วงปี พ.ศ. 2515-2517 เพื่อนำก๊าซธรรมชาติ ที่เดิมคิดว่ามีคุณค่าน้อยขึ้นมาใช้ประโยชน์ โดยจัดตั้ง องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกธ.) รับผิดชอบการ ลงทุนวางท่อแก๊สใต้ทะเลเพื่อรับซื้อแก๊ส ณ ปากหลุมที่แหล่งแก๊สของผู้รับสัมปทานกลางอ่าวไทยและร่วมลงทุนสร้าง ท่อแก๊สขึ้นสู่ฝั่ง ท่อบนบกและสถานีควบคุมความดันและจุดควบแน่น โดยอธก.ทำหน้าที่ดำเนินกระบวนการเจรจา ตกลงราคาแก๊ส และปริมาณการซื้อขายแก๊ส
ในขณะที่โครงการพัฒนาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มเป็นรูปธรรมขึ้น ประเทศไทยประสบปัญหามากขึ้นในการจัดหา และจัดจำหน่ายน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน องค์กรของรัฐที่มีอยู่ ได้แก่ องค์การเชื้อเพลิง (อชพ.) สังกัดกระทรวงกะลาโหม ก็ยังไม่สามารถตอบสนองนโยบายของรัฐได้ดีพอ รัฐบาลสมัยนั้น (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) จึงตั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (The Petroleum Authority of thailand) หรือ ปตท. ขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ.2522 เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยรวมองค์การเชื้อเพลิง (อชพ.) จากกระทรวงกลาโหม และองค์การแก๊สธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกธ.) จากกระทรวงอุตสาหกรรมไว้ด้วยกัน
ปตท. จึงเป็นหน่วยงานหลักของรัฐในการพัฒนาแหล่งและการดำเนินกิจการแก๊สธรรมชาติหลังจากนั้นเป็นต้นมา โดย ได้ก่อตั้งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เฉพาะการสำรวจและผลิตขึ้นในปี พ.ศ.2539
นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ในปี พ.ศ.2514 จนถึงเริ่ม ผลิตในปี พ.ศ.2524 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสตจากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศหลายแหล่ง โดยมีผู้ถือ สัมปทานการสำรวจ จำนวน 33 สัมปทาน 43 แปลงสำรวจ (พื้นที่บนบก 14 สัมปทาน 17 แปลงสำรวจ อ่าวไทย 19 สัมปทาน 26 แปลงสำรวจ และไม่มีผู้ถือสัมปทานในทะเลอันดามัน) จำนวนหลุมปิโตรเลียมที่เจาะแล้วมากกว่า 3,000 หลุม
ก่อตั้งกลุ่มประเทศผู้ส่งออกก๊าซ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) รายงานว่า รัสเซีย อิหร่าน และประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายอื่น ๆ ร่วมมือกัน ก่อตั้งกลุ่มประเทศผู้ส่งออกก๊าซ (Gas Exporting Countries Forum) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2008 องค์กรดังกล่าว มีประเทศสมาชิกร่วมก่อตั้ง 15 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซ ธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) รายใหญ่สุดของโลก
"นี่เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญของตลาดพลังงาน" ประธานาธิบดีดิมิทรี เมดเวเดฟ ของรัสเซียกล่าวหลังสิ้นสุด การประชุม "การสร้างเสถียรภาพของโลก ความมั่นคงด้านพลังงาน และสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของประเทศ ผู้ส่งออกและผู้บริโภค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออก"
รัสเซียซึ่งเป็นแกนนำในการสร้างความร่วมมือครั้งนี้ กล่าวว่า ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติไม่สามารถเอาอย่างกลุ่มโอเปคได้ทุกประการ และจำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มของตนเอง "องค์กรใหม่ได้เกิดขึ้นแล้วในวันนี้" เซอร์เก ชมัตโค รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย กล่าว "เราไม่จำกัดบทบาทหน้าที่ ของเราว่าจะต้องทำมากน้อยแค่ไหนตราบใดที่มันมีความเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ" กลุ่มประเทศผู้ส่งออก ก๊าซจะทำการคัดเลือกเลขาธิการใหญ่ขององค์กรในการประชุมปีหน้าและนั่นจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญขององค์กร ก๊าซธรรมชาติระดับโลก
ยุคแรก ๆ ที่มีการนำก๊าซ LPG มาใช้ยังไม่มีการควบคุม จนกระทั่ง Dr. Walter Snelling นักวิทยาศาสตร์ และนักลงทุนชาวอเมริกัน ได้ผลิตตัวอย่าง โพรเพน และ บิวเทน ขึ้นในปี 1911 (พ.ศ.2454) สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า การค้นพบก็คือโพรเพน และ บิวเทน ในก๊าซธรรมชาติไม่มีความเสถียรและสามารถระเหยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ ได้ตลอดเวลา Dr. Snelling จึงได้พัฒนากระบวนการจัดเก็บและขนส่งโพรเพนและบิวเทน และในปี 1913 (พ.ศ.2456) เขาก็ได้สิทธิบัตรด้านก๊าซ LPG
ในปี พ.ศ.2482 สภานิติบัญญัติแห่งรัฐของอเมริกา ได้ตราพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อบังคับแห่ง แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas หรือ LPG) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ บิวเทน หรือ โพรเพน ด้วนสาเหตุที่ว่า สภาการรถไฟซึ่งเป็นตัวแทนเสียงข้างมากของรัฐ ซึ่งรับผิดชอบต่อการผลิตและการใช้แก๊สในระดับรัฐต้องการได้ อำนาจการตัดสินใจด้วยตัวบทกฎหมาย
การขยายตัวของการใช้ก๊าซธรรมชาติในสหรัฐเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 40 (1940s) ประชาชนในพื้นที่การเกษตร ของเท็กซัส เปลี่ยนจากการใช้ไม้และน้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงภายในบ้านมาเป็นการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็น เชื้อเพลิงในการทำอาหาร และสร้างความอบอุ่นภายในบ้าน โดยทำการส่งมาทางท่อส่งก๊าซ สามารถสร้างประโยชน์ ให้กับการดำเนินชีวิตของชุมชนเมืองได้เป็นอย่างมาก ส่วนในพื้นที่ห่างไกล LPG จะถูกบรรจุใส่ถังก๊าซ พื่อความสะดวก ในการขนส่ง
อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ.2489) ปัญหาความปลอดภัยจากแรงดันที่สูงเป็นสาเหตุให้อัตราการขอ เอาประกันภัยพุ่งสูงแบบติดจรวด อุตสาหกรรม LPG จึงหาวิธีการทางกฎหมายเพื่อปกป้องสาธารณะชน และเพื่อช่วยลด อัตราการประกันภัย ในปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494) สภานิติบัญญัติของรัฐเท็กซัส ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการมี ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และผ่านกฎหมายว่าด้วยการตั้งสำนักงานก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas Division) ให้แยกออกจากสภาการรถไฟ
ปี ค.ศ. 1958-1959 (พ.ศ.2501-2502) บริษัท แทร็กเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดได้เผยแพร่การใช้ก๊าซ LPG กับเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้ในฟาร์ม ทำให้อัตราการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวพุ่งสูงขึ้น
ในปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ.2526) อำนาจในการดูแลจัดการก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas หรือ CNG) ถูกรวมเข้ามาในสำนักงานนี้ การตราพระราชบัญญัติ “อากาศบริสุทธิ์” หรือ The "clean air" legislation ถูกผ่านออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยสภานิติบัญญัติชุดที่ 71 ของรัฐเท็กซัส ได้ขอให้ยานพาหนะที่มีสมรรถนะ เพียงพอ หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) หรือ LPG อยู่ในขอบเขตทางกฎหมายของสำนักงานก๊าซธรรมชาติเหลว
ใบอนุญาตที่มอบให้กับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) และคณะกรรมการกำหนดข้อ กฎหมาย CNG ที่ครอบคลุมถึงการติดตั้ง การจัดเก็บ และการจัดหาเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง CNG ทั้งในยานพาหานะ ส่วนบุคคลและในยานพาหนะสาธารณะ
ในออสเตรเลียมีการค้นพบก๊าซ LPG ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1920s ซึ่งนั่นเป็นช่วงที่ออสเตรเลียนำเข้า ก๊าซธรรมชาติบรรจุถังมาจากอเมริกา ในตอนนั้นก็ยังไม่มีคนสนใจจนกระทั่งมันมีค่าแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ขึ้นมา จากนั้นก๊าซธรรมชาติจึงถูกควบคุมในฐานะที่สามารถใช้หุงต้มอาหารและสร้างความอบอุ่น
ก่อนปี 1970 (พ.ศ.2513) ก๊าซ LPG จำนวนไม่มากนักหาได้ในออสเตรเลีย ช่วงทศวรรษที่ 1970s บริษัท Esso และ BHP ได้เปิด Bass Strait Oil และ Gas Fields ทำให้โพรเพนและบิวเทนของออสเตรเลียมีใช้อย่างเหลือเฟือ ในขณะที่มันถูกมองว่าเป็น “ขยะ” ที่เกิดจากการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ความต้องการในออสเตรเลียจึงต่ำ ส่วนเกินถูกส่งมาจำหน่ายในเอเชีย ช่วงนี้เองวิกฤติปิโตรเลียมทำให้เกิดการพัฒนาพลังงานทางเลือกราคาประหยัด เพื่อใช้ในรถยนต์ขึ้นมา
จุดกำเนิดรถใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (NGV)
ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (NATURAL GAS VEHICLE : NGV)ได้มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean Etienne Lenoir แต่ช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่งถึง สงครามโลกครั้งที่ 2 และเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันใน ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลให้มีการคิดค้น นำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนนในรถยนต์มากขึ้น รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ล้วนส่งเสริมและสนับสนุน ให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยประเทศที่มีการใช้อยู่แล้วก็มีแนวโน้มการขยายตัวของการใช้มากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลี เป็นต้น ส่วนประเทศที่ยังไม่เริ่มใช้ รัฐบาลก็ให้การส่งเสริม รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย
อิตาลีเป็นประเทศแรก ๆ ที่นำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ มากว่า 80 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันใน อิตาลีมีรถยนต์ใช้ก๊าซกว่า 300,000 คัน และต่อมาความนิยมใช้ก๊าซ NGV ก็มีแพร่หลายมากขึ้นทั้งในทวีปอเมริกาใต้ เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า จำนวนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ มีทั้งหมด 1,400,000 คัน ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 1 ในโลก ในทวีปอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกามียานยนต์ให้ก๊าซกว่า 130,000 คัน ในทวีปเอเชีย มีในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และปากีสถาน รวมถึงทวีปอาฟริกา เช่น อียิปต์ ในปัจจุบันทั่วโลกมีรถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติกว่า 4.7 ล้านคัน
ประเทศไทยกับการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์
ปี พ.ศ. 2514 มีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย หลังจากมีพระราชบัญญัติปิโตรเลียม โดยวิธีการให้ประมูลสัมปทาน ซึ่งรัฐบาลพิจารณาให้สัมปทาน 9 ราย จากผู้ยื่นความจำนงกว่า 20 ราย ในพื้นที่ 19 แปลงในอ่าวไทย 2 แปลงในทะเลอันดามันน้ำตื้น และ 2 แปลงบนบกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2514 นั่นเองที่ บริษัท ยูเนี่ยนออยล์ ได้เจาะหลุมสำรวจขนาด ลึกเป็นครั้งแรก บนที่ราบสูงโคราช และบริษัท โคโนโค ได้เจาะหลุมสำรวจหลุมแรกในอ่าวไทย แต่ทั้งสองหลุม ไม่ปรากฏร่องรอยของสารไฮโดรคาร์บอน
ปี พ.ศ.2516 บริษัท ยูเนียนออยล์ ประเทศไทย จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูโนแคล ประเทศไทย จำกัด (Unocal)) เป็นบริษัทแรกที่ค้นพบแหล่งก๊าซ ธรรมชาติในอ่าวไทย (แปลงสัมปทานที่ 12 แอ่ง ปัตตานี) ณ แหล่งเอราวัณ ต่อมาได้สำรวจพบแหล่ง บรรพต และได้สำรวจพบในแหล่งอื่น ๆ ที่จะสามารถ พัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นอีก
ปัจจุบันพบแหล่งก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสต ใน พื้นที่สัมปทานของบริษัทฯ ทั้ง 4 แปลงในอ่าวไทย จำนวนถึง 15 แหล่ง ได้แก่ เอราวัณ บรรพต ปลาทอง สตูล กะพง ฟูนาน จักรวาล ปะการัง ตราด โกมินทร์ สุราษฎร์ ปลาแดง ดารา ปลาหมึก และยะลา
นอกจากการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยแล้ว ยังมีการสำรวจในอ่าวอันดามันด้วยแต่ไม่พบแหล่งที่มี ศักยภาพในเชิงพาณิชย์
นอกจากนี้ยังมีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติบนบก โดยบริษัท เอกซอนแห่งประเทศไทย จำกัด พบแก๊ส ธรรมชาติที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แต่เป็น แก๊สแห้ง คือไม่มีไฮโดรคาร์บอนหนักอยู่ด้วย และบริษัท ไทยเชลล์ เอกซ์พลอเรชัน จำกัด สำรวจพบน้ำมันปิโตรเลียม ที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานชื่อว่า แหล่งสิริกิติ์ และพบก๊าซธรรมชาติร่วมด้วย เริ่มผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 โดยนำน้ำมันดิบที่ได้มากลั่นร่วมกับน้ำมันดิบที่นำเข้า พ.ศ.2518 เกิดวิกฤติการณ์น้ำมันทั่วโลก ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลในสมัยนั้น พิจารณาพัฒนาแหล่งก๊าซ ธรรมชาติในอ่าวไทย โดยผู้รับสัมปทาน คือ บริษัท ยูเนียนออยล์ ในช่วงปี พ.ศ. 2515-2517 เพื่อนำก๊าซธรรมชาติ ที่เดิมคิดว่ามีคุณค่าน้อยขึ้นมาใช้ประโยชน์ โดยจัดตั้ง องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกธ.) รับผิดชอบการ ลงทุนวางท่อแก๊สใต้ทะเลเพื่อรับซื้อแก๊ส ณ ปากหลุมที่แหล่งแก๊สของผู้รับสัมปทานกลางอ่าวไทยและร่วมลงทุนสร้าง ท่อแก๊สขึ้นสู่ฝั่ง ท่อบนบกและสถานีควบคุมความดันและจุดควบแน่น โดยอธก.ทำหน้าที่ดำเนินกระบวนการเจรจา ตกลงราคาแก๊ส และปริมาณการซื้อขายแก๊ส
ในขณะที่โครงการพัฒนาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มเป็นรูปธรรมขึ้น ประเทศไทยประสบปัญหามากขึ้นในการจัดหา และจัดจำหน่ายน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน องค์กรของรัฐที่มีอยู่ ได้แก่ องค์การเชื้อเพลิง (อชพ.) สังกัดกระทรวงกะลาโหม ก็ยังไม่สามารถตอบสนองนโยบายของรัฐได้ดีพอ รัฐบาลสมัยนั้น (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) จึงตั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (The Petroleum Authority of thailand) หรือ ปตท. ขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ.2522 เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยรวมองค์การเชื้อเพลิง (อชพ.) จากกระทรวงกลาโหม และองค์การแก๊สธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกธ.) จากกระทรวงอุตสาหกรรมไว้ด้วยกัน
ปตท. จึงเป็นหน่วยงานหลักของรัฐในการพัฒนาแหล่งและการดำเนินกิจการแก๊สธรรมชาติหลังจากนั้นเป็นต้นมา โดย ได้ก่อตั้งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เฉพาะการสำรวจและผลิตขึ้นในปี พ.ศ.2539
นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ในปี พ.ศ.2514 จนถึงเริ่ม ผลิตในปี พ.ศ.2524 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสตจากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศหลายแหล่ง โดยมีผู้ถือ สัมปทานการสำรวจ จำนวน 33 สัมปทาน 43 แปลงสำรวจ (พื้นที่บนบก 14 สัมปทาน 17 แปลงสำรวจ อ่าวไทย 19 สัมปทาน 26 แปลงสำรวจ และไม่มีผู้ถือสัมปทานในทะเลอันดามัน) จำนวนหลุมปิโตรเลียมที่เจาะแล้วมากกว่า 3,000 หลุม
ก่อตั้งกลุ่มประเทศผู้ส่งออกก๊าซ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) รายงานว่า รัสเซีย อิหร่าน และประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายอื่น ๆ ร่วมมือกัน ก่อตั้งกลุ่มประเทศผู้ส่งออกก๊าซ (Gas Exporting Countries Forum) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2008 องค์กรดังกล่าว มีประเทศสมาชิกร่วมก่อตั้ง 15 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซ ธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) รายใหญ่สุดของโลก
"นี่เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญของตลาดพลังงาน" ประธานาธิบดีดิมิทรี เมดเวเดฟ ของรัสเซียกล่าวหลังสิ้นสุด การประชุม "การสร้างเสถียรภาพของโลก ความมั่นคงด้านพลังงาน และสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของประเทศ ผู้ส่งออกและผู้บริโภค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออก"
รัสเซียซึ่งเป็นแกนนำในการสร้างความร่วมมือครั้งนี้ กล่าวว่า ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติไม่สามารถเอาอย่างกลุ่มโอเปคได้ทุกประการ และจำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มของตนเอง "องค์กรใหม่ได้เกิดขึ้นแล้วในวันนี้" เซอร์เก ชมัตโค รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย กล่าว "เราไม่จำกัดบทบาทหน้าที่ ของเราว่าจะต้องทำมากน้อยแค่ไหนตราบใดที่มันมีความเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ" กลุ่มประเทศผู้ส่งออก ก๊าซจะทำการคัดเลือกเลขาธิการใหญ่ขององค์กรในการประชุมปีหน้าและนั่นจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญขององค์กร ก๊าซธรรมชาติระดับโลก
ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ http://www.gasforcars.net/history.php
0 ความคิดเห็น :
Post a Comment