ก๊าซหุงต้ม หลายครัวเรือนต้องมีไว้อย่างแน่นอนแต่เราทำยังไงที่จะอยู่กับมันอย่างปลอดภัยเพราะหากเราละเลยสิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ บ่อยครั้งสาเหตุเพลิงไหม้ก็เกิดจากความประมาทของเราเองและทุกคนในครอบครัวสามารถช่วยกันป้องกันได้
การสังเกตถังก๊าซหุงต้มที่มีคุณภาพ
มีข้อความ Property of ยี่ห้อสินค้า ประทับตราในเนื้อถังชัดเจน บริเวณหูถัง มีตราประทับเครื่องหมายรับรองคุณภาพจากสำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ประทับที่หูถังอย่างถาวรและชัดเจน มีชื่อบริษัทผู้ตรวจสอบ ประทับที่บริเวณหูถังอย่างถาวรและชัดเจน มีเดือน/ ปีที่ตรวจสอบครั้งสุดท้ายถังไม่บุบ ไม่บวม ไม่มีรอยขีดข่วนเป็นรอยลึก ไม่เป็นสนิมผุกร่อน บอกน้ำหนักถังเปล่า และน้ำหนักบรรจุอย่างชัดเจน มีซีลผนึกที่วาล์วหัวถังในสภาพสมบูรณ์เรียบร้อย
การติดตั้งก๊าซหุงต้ม
1.ควรตั้งห่างจากเตาไฟอย่างน้อย 1.5 เมตร
2.ไม่ควรตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟไว้ใกล้ถังก๊าซ
3.ตั้งในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือภายนอกอาคารเพื่อความปลอดภัย
4.ตั้งอยู่ในบริเวณที่เคลื่อนย้ายเข้าออกสะดวก ไม่กีดขวางทางเข้า-ออก
5.ตั้งถังบนที่ราบและแข็ง
6.ไม่ตั้งบริเวณที่เปียกชื้น
7.ไม่ตั้งถังในห้องใต้ดิน แต่หากจำเป็นควรติดตั้งเครื่องเตือนภัยด้วย
ข้อห้ามในการใช้ถังก๊าซหุงต้ม ห้ามกลิ้ง หรือกระแทกถัง ห้ามนำไปเติมที่สถานีบริการ ห้ามนำถังก๊าซหุงต้มไปใช้แทนถังในรถยนต์
การป้องกันและระงับอัคคีภัยจากก๊าซหุงต้ม
ตรวจสอบหารอยรั่ว ใช้น้ำสบู่ลูบไล้ตามจุดต่างๆ ได้แก่ บริเวณวาล์วถังก๊าซ บริเวณหัวปรับความดัน บริเวณข้อต่อต่างๆ บริเวณแกนลูกบิดสำหรับเปิด-ปิดเตาก๊าซ และที่สายอ่อนนำก๊าซ หากมีการรั่วซึม จะเปิดฟองอากาศผุดขึ้น
วิธีปฏิบัติเมื่อก๊าซรั่ว
ก๊าซหุงต้มมีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศเมื่อรั่วซึมจะลอยต่ำและไหลไปตามพื้น หากติดไฟจะลุกลามได้(ต่างจากก๊าซธรรมชาติที่เบากว่าอากาศจึงลอยขึ้นสูงและไม่ติดไฟ) ดังนั้นจึงห้ามเปิดหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และห้ามกระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดประกายไฟ ปิดวาล์วที่ถังก๊าซและหัวเตาเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศหรือใช้พัดช่วยไล่ก๊าซจากนั้นรีบตรวจหาสาเหตุของการรั่วแล้วรีบทำการแก้ไข หรือแจ้งร้านค้าก๊าซโดยด่วน กรณีที่ถังก๊าซรั่ว หลังปิดวาล์วแล้วให้ยกถังไปยังที่โล่ง ห้ามกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดประกายไฟ จากนั้นพลิกถังให้จุดที่รั่วอยู่ด้านบน เพื่อลดการรั่วไหลของก๊าซ
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์และถังก๊าซหุงต้ม ควรมีเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงที่เกิดจากก๊าซหุงต้มได้ และติดตั้งในที่สามารถหยิบใช้ได้ง่ายศึกษาวิธีปฏิบัติให้มีความเข้าใจ และหมั่นตรวจสอบเครื่องดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้เครื่องดับเพลิงดังกล่าวเพื่อระงับเหตุทันที
ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ http://www.samsenfire.com/article/49-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A1.html
การสังเกตถังก๊าซหุงต้มที่มีคุณภาพ
มีข้อความ Property of ยี่ห้อสินค้า ประทับตราในเนื้อถังชัดเจน บริเวณหูถัง มีตราประทับเครื่องหมายรับรองคุณภาพจากสำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ประทับที่หูถังอย่างถาวรและชัดเจน มีชื่อบริษัทผู้ตรวจสอบ ประทับที่บริเวณหูถังอย่างถาวรและชัดเจน มีเดือน/ ปีที่ตรวจสอบครั้งสุดท้ายถังไม่บุบ ไม่บวม ไม่มีรอยขีดข่วนเป็นรอยลึก ไม่เป็นสนิมผุกร่อน บอกน้ำหนักถังเปล่า และน้ำหนักบรรจุอย่างชัดเจน มีซีลผนึกที่วาล์วหัวถังในสภาพสมบูรณ์เรียบร้อย
การติดตั้งก๊าซหุงต้ม
1.ควรตั้งห่างจากเตาไฟอย่างน้อย 1.5 เมตร
2.ไม่ควรตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจก่อให้เกิดประกายไฟไว้ใกล้ถังก๊าซ
3.ตั้งในที่ๆ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือภายนอกอาคารเพื่อความปลอดภัย
4.ตั้งอยู่ในบริเวณที่เคลื่อนย้ายเข้าออกสะดวก ไม่กีดขวางทางเข้า-ออก
5.ตั้งถังบนที่ราบและแข็ง
6.ไม่ตั้งบริเวณที่เปียกชื้น
7.ไม่ตั้งถังในห้องใต้ดิน แต่หากจำเป็นควรติดตั้งเครื่องเตือนภัยด้วย
ข้อห้ามในการใช้ถังก๊าซหุงต้ม ห้ามกลิ้ง หรือกระแทกถัง ห้ามนำไปเติมที่สถานีบริการ ห้ามนำถังก๊าซหุงต้มไปใช้แทนถังในรถยนต์
การป้องกันและระงับอัคคีภัยจากก๊าซหุงต้ม
ตรวจสอบหารอยรั่ว ใช้น้ำสบู่ลูบไล้ตามจุดต่างๆ ได้แก่ บริเวณวาล์วถังก๊าซ บริเวณหัวปรับความดัน บริเวณข้อต่อต่างๆ บริเวณแกนลูกบิดสำหรับเปิด-ปิดเตาก๊าซ และที่สายอ่อนนำก๊าซ หากมีการรั่วซึม จะเปิดฟองอากาศผุดขึ้น
วิธีปฏิบัติเมื่อก๊าซรั่ว
ก๊าซหุงต้มมีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศเมื่อรั่วซึมจะลอยต่ำและไหลไปตามพื้น หากติดไฟจะลุกลามได้(ต่างจากก๊าซธรรมชาติที่เบากว่าอากาศจึงลอยขึ้นสูงและไม่ติดไฟ) ดังนั้นจึงห้ามเปิดหรือปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และห้ามกระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดประกายไฟ ปิดวาล์วที่ถังก๊าซและหัวเตาเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศหรือใช้พัดช่วยไล่ก๊าซจากนั้นรีบตรวจหาสาเหตุของการรั่วแล้วรีบทำการแก้ไข หรือแจ้งร้านค้าก๊าซโดยด่วน กรณีที่ถังก๊าซรั่ว หลังปิดวาล์วแล้วให้ยกถังไปยังที่โล่ง ห้ามกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดประกายไฟ จากนั้นพลิกถังให้จุดที่รั่วอยู่ด้านบน เพื่อลดการรั่วไหลของก๊าซ
การป้องกันและระงับอัคคีภัย
หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์และถังก๊าซหุงต้ม ควรมีเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงที่เกิดจากก๊าซหุงต้มได้ และติดตั้งในที่สามารถหยิบใช้ได้ง่ายศึกษาวิธีปฏิบัติให้มีความเข้าใจ และหมั่นตรวจสอบเครื่องดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ให้ใช้เครื่องดับเพลิงดังกล่าวเพื่อระงับเหตุทันที
ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ http://www.samsenfire.com/article/49-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%A1.html
0 ความคิดเห็น :
Post a Comment